สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว ๒.๓
182
2
สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว ๒.๓
Tags:
Similar Mind Maps
Outline


ม.5/1 สืบค้นข้อมูลและอธิบายพลังงานนิวเคลียร์
ฟิชชันและฟิวชัน และความสัมพันธ์ระหว่างมวล
กับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากฟิชชัน
และฟิวชัน
ม.5/2 สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเปลี่ยนพลังงาน
ทดแทนเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งสืบค้นและ
อภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาแก้ปัญหา
ม.5/3 สังเกต และอธิบายการสะท้อน การหักเห
การเลี้ยวเบน และการรวมคลื่น
ม.5/4 สังเกต และอธิบายความถี่ธรรมชาติการสั่นพ้อง
และผลที่เกิดขึ้นจากการสั่นพ้อง
ม.5/5 สังเกต และอธิบายการสะท้อน การหักเห
การเลี้ยวเบน และการรวมคลื่นของคลื่นเสียง
ม.5/6 สืบค้นข้อมูล และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเข้มเสียงกับระดับเสียงและผลของความถี่
กับระดับเสียงที่มีต่อการได้ยินเสียง
ม.5/7 สังเกต และอธิบายการเกิดเสียงสะท้อนกลับ
บีต ดอปเพลอร์และการสั่นพ้องของเสียง
ม.5/8 สืบค้นข้อมูล และยกตัวอย่างการนำความรู้
เกี่ยวกับเสียงไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ม.5/9 สังเกต และอธิบายการมองเห็นสีของวัตถุ
และความผิดปกติในการมองเห็นสี
ม.5/10 สังเกต และอธิบายการทำงานของแผ่นกรอง
แสงสีการผสมแสงสีการผสมสารสีและ
การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ม.5/11สืบค้นข้อมูลและอธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ส่วนประกอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และหลัก
การทำงานของอุปกรณ์บางชนิดที่อาศัย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ม.5/12 สืบค้นข้อมูลและอธิบายการสื่อสาร โดยอาศัย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งผ่านสารสนเทศ
และเปรียบเทียบการสื่อสารด้วยสัญญาณ
แอนะล็อกกับสัญญาณดิจิทัล

ป.1/1 บรรยายการเกิดเสียงและทิศทางการเคลื่อนที่
ของเสียงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ป.2/1 บรรยายแนวการเคลื่อนที่ของแสงจาก
แหล่งกำเนิดแสง และอธิบายการมองเห็นวัตถุ
จากหลักฐานเชิงประจักษ์
ป.2/2 ตระหนักในคุณค่าของความรู้ของการมองเห็น
โดยเสนอแนะแนวทางการป้องกันอันตราย
จากการมองวัตถุที่อยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่าง
ไม่เหมาะสม

ป.3/1 ยกตัวอย่างการเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีก
พลังงานหนึ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ป.3/2 บรรยายการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและ
ระบุแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า จากข้อมูล
ที่รวบรวมได้
ป.3/3 ตระหนักในประโยชน์และโทษของไฟฟ้า โดย
นำเสนอวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และ
ปลอดภัย

ป.4/1 จำแนกวัตถุเป็นตัวกลางโปร่งใส
ตัวกลางโปร่งแสง และวัตถุทึบแสง จากลักษณะ
การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านวัตถุนั้นเป็นเกณฑ์
โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ป.5/1 อธิบายการได้ยินเสียงผ่านตัวกลางจากหลักฐาน
เชิงประจักษ์
ป.5/2 ระบุตัวแปร ทดลอง และอธิบายลักษณะและ
การเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ
ป.5/3 ออกแบบการทดลองและอธิบายลักษณะและ
การเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
ป.5/4 วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง
ป.5/5 ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียง
โดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง

ป.6/1 ระบุส่วนประกอบและบรรยายหน้าที่ของแต่ละ
ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจาก
หลักฐานเชิงประจักษ์
ป.6/2 เขียนแผนภาพและต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ป.6/3 ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่
เหมาะสมในการอธิบายวิธีการและผลของ
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
ป.6/4 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการต่อ
เซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมโดยบอกประโยชน์และ
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ป.6/5 ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่
เหมาะสมในการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้า
แบบอนุกรมและแบบขนาน
ป.6/6 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการต่อ
หลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน โดย
บอกประโยชน์ข้อจำกัด และการประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน
ป.6/7 อธิบายการเกิดเงามืดเงามัวจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ป.6/8 เขียนแผนภาพรังสีของแสงแสดงการเกิด
เงามืดเงามัว

ม.1/1 วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล และคำนวณ
ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ
และเปลี่ยนสถานะ
โดยใช้สมการ
ม.1/2 ใช้เทอร์มอมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิของสสาร
ม.1/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการขยายตัวหรือ
หดตัวของสสารเนื่องจากได้รับหรือสูญเสีย
ความร้อน
ม.1/4 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการหด
และขยายตัวของสสารเนื่องจากความร้อน
โดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และเสนอแนะ
วิธีการนำความรู้มาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
ม.1/5 วิเคราะห์สถานการณ์การถ่ายโอนความร้อน
และคำนวณปริมาณความร้อนที่ถ่ายโอน
ระหว่างสสารจนเกิดสมดุลความร้อนโดยใช้
สมการ
ม.1/6 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการถ่ายโอนความร้อน
โดยการนำความร้อน การพาความร้อน
การแผ่รังสีความร้อน
ม.1/7 ออกแบบ เลือกใช้และสร้างอุปกรณ์เพื่อแก้
ปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ
การถ่ายโอนความร้อน

ม.2/1 วิเคราะห์สถานการณ์และคำนวณเกี่ยวกับงาน
และกำลังที่เกิดจากแรงที่กระทำต่อวัตถุ
โดยใช้สมการ
ม.2/2 วิเคราะห์หลักการทำงานของเครื่องกลอย่างง่าย
จากข้อมูลที่รวบรวมได้
ม.2/3 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของ
เครื่องกลอย่างง่าย โดยบอกประโยชน์
และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ม.2/4 ออกแบบและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสม
ในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อพลังงานจลน์
และพลังงานศักย์โน้มถ่วง
ม.2/5 แปลความหมายข้อมูลและอธิบายการเปลี่ยน
พลังงานระหว่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงและ
พลังงานจลน์ของวัตถุโดยพลังงานกลของวัตถุ
มีค่าคงตัวจากข้อมูลที่รวบรวมได้
ม.2/6 วิเคราะห์สถานการณ์และอธิบายการเปลี่ยน
และการถ่ายโอนพลังงานโดยใช้
กฎการอนุรักษ์พลังงาน

ม.3/1วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์
กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน และคำนวณ
ปริมาณที่เกี่ยวข้องโดยใช้สมการ V=IR
ม.3/2 เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า
และความต่างศักย์ไฟฟ้า
ม.3/3 ใช้โวลต์มิเตอร์แอมมิเตอร์ในการวัดปริมาณทาง
ไฟฟ้า
ม.3/4 วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
ในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัว
แบบอนุกรมและแบบขนาน
ม.3/5 เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทาน
แบบอนุกรมและขนาน
ม.3/6 บรรยายการทำงานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อย่างง่ายในวงจรจากข้อมูลที่รวบรวมได้
ม.3/7 เขียนแผนภาพและต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อย่างง่ายในวงจรไฟฟ้า
ม.3/8 อธิบายและคำนวณพลังงานไฟฟ้าโดยใช้สมการ W=Pt รวมทั้งคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ม.3/9 ตระหนักในคุณค่าของการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
โดยนำเสนอวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
อย่างประหยัดและปลอดภัย
ม.3/10 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดคลื่น
และบรรยายส่วนประกอบของคลื่น
ม.3/11 อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัม
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากข้อมูลที่รวบรวมได้
ม.3/12 ตระหนักถึงประโยชน์และอันตรายจาก
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
ม.3/13 ออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลอง
ด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบาย
กฎการสะท้อนของแสง
ม.3/14 เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดง
การเกิดภาพจากกระจกเงา
ม.3/15 อธิบายการหักเหของแสงเมื่อผ่านตัวกลาง
โปร่งใสที่แตกต่างกัน และอธิบายการกระจาย
แสงของแสงขาวเมื่อผ่านปริซึม
ม.3/16 เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง
แสดงการเกิดภาพจากเลนส์บาง
ม.3/17 อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง และการ
ทำงานของทัศนอุปกรณ์จากข้อมูลที่รวบรวม
ได้
ม.3/18 เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการ
เกิดภาพของทัศนอุปกรณ์และเลนส์ตา
ม.3/19 อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อดวงตาจาก
ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น
ม.3/20 วัดความสว่างของแสงโดยใช้อุปกรณ์วัด
ความสว่างของแสง
ม.3/21 ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่อง ความสว่าง
ของแสงที่มีต่อดวงตา โดยวิเคราะห์สถานการณ์
ปัญหาและเสนอแนะการจัดความสว่าง
ให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ