ปรัชญาการศึกษาอ.ฟาง

ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาประยุกต์ (applied philosophy)3. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม หรือนิรันดรนิยม (perenialism)4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (reconstructionism)5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม2. ปรัชญาสาขาพิพัฒนาการนิยม หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม (progressivism)1. ปรัชญาสาขาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (essentialism)1.1 ปรัชญาสารนิยมหรือสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยม1.2 ปรัชญาสารนิยมหรือสารัตถนิยมตามแนวสัจนิยมมีความเชื่อว่า การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสําคัญ (essence) ของสังคมให้ดํารงอยู่ต่อๆ ไป ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วยความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม อันเป็นแก่นสําคัญซึ่งสังคมนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามสมควรที่จะรักษาและสืบทอดให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปเชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงทางธรรมชาติเกี่ยวกับการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วยความรู้ความจริง และการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอนตามความเชื่อนี้จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูลเป็นปรัชญาการศึกษาที่ยึดหลักการของปรัชญาสากลสาขาปฏิบัติการนิยม โดยมีความเชื่อว่านักเรียนเป็นบุคคลที่มีทักษะพร้อมที่ปฏิบัติงานได้ครูนั้นเป็นผู้นําทางในด้านการทดลองและวิจัย หลักสูตรเป็นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับประสบการณ์ต่าง ๆ ของสังคม เช่น ปัญหาของสังคม รวมทั้งแนวทางที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ ปรัชญาปฏิบัติการนิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ” หรือ “การลงมือกระทํา”ข้อสังเกตปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม1) ประสบการณ์ของมนุษย์เป็นพื้นฐานของความรู้2) สภาพการณ์ของทุกสิ่งในโลกนี้กําลังเปลี่ยนแปลง3) กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จะทําให้เด็กรู้ว่าจะคิดอย่างไร4) กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเน้นการคิดอย่างไร มากกว่าคิดอะไร5) โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม และเป็นสถาบันต้นแบบของประชาธิปไตย6) เสรีภาพภายใต้กฎเกณฑ์เป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย7) กระบวนการศึกษาเน้นกระบวนการกลุ่ม และมาตรฐานของกลุ่มปรัชญาสัจวิทยานิยมเชื่อว่าคนมีธรรมชาติเหมือนทุกคน ดังนั้นการศึกษาจึงควรเป็นแบบเดียวกันสําหรับทุกคน และเนื่องจากมนุษย์มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ คือเป็นผู้สามารถใช้เหตุผล ดังนั้นการศึกษาจึงควรเน้นการพัฒนาความมีเหตุผล และการใช้เหตุผล มนุษย์จําเป็นต้องใช้เหตุผลในการดํารงชีวิตและควบคุมกํากับตนเอง มิใช่นึกจะทําอะไรก็ทําได้ตามใจชอบ การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตัวให้เข้ากับความจริงแท้แน่นอน ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับโลกแห่งวัตถุการสอนจุดเน้นอยู่ที่กิจกรรมซึ่งจัดเพื่อการฝึกและควบคุมจิต เนื้อหาสาระที่มาจากธรรมชาติในรูปของสาขาวิชาการและความสามารถทางจิต เช่น เนื้อหาของคณิตศาสตร์ ภาษา ตรรกวิทยาวรรณกรรมชิ้นเอก และลัทธิคําสอน จะต้องนํามาศึกษาและเรียนรู้ ไม่ว่ามันจะถูกนําไปใช้โดยตรงตามลักษณะวิชานั้น ๆ หรือไม่ ประเด็นที่สําคัญก็คือว่า การศึกษาวิชาเหล่านั้นฝึกจิต เชื่อกันว่าผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีเหตุผลและมีพลังจิต วิธีการสอนจึงได้แก่ การฝึกฝนทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน การฝึกทักษะ การท่องจํา และการคํานวณข้อสังเกต1. มีแนวความคิดและความเชื่อใกล้เคียงกับสาขาสารนิยม2. ถึงแม้จะมีแนวคิดใกล้เคียงกับพวกสารนิยม แต่ก็ยึดหลักความศรัทธาเป็นหลักการเบื้องต้นของความมีเหตุผลของมนุษย์ และเป็นที่มาของความรู้ต่าง ๆ3. จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษามุ่งที่จะเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต4. การอ่าน การเขียน คิดเลขจึงมีความสําคัญในระดับประถมศึกษา5. การศึกษาระดับมัธยมนั้น เหมาะสมกับพวกที่มั่งมีหรือมีฐานะดีเป็นสําคัญปรัชญาสาขานี้มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียน ครูหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ตลอดทั้งลักษณะของการจัดการศึกษา เหมือนกับปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม เว้นแต่ในเป้าหมายของสังคมเท่านั้นที่แตกต่างกันนักพิพัฒนาการนิยมหลายท่านมีความเห็นว่า แนวความคิดของพิพัฒนาการนิยม มีลักษณะ “เป็นกลาง”eมากเกินไป จึงไม่สามารถนาไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จําเป็นได้พวกที่ต้องการแสวงหาอุดมการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตรงกว่านี้และสร้างสังคมที่ดีขึ้นมาใหม่ จึงถูกจําแนกแยกออกมาจากพิพัฒนาการนิยมเป็นแนวความคิดขึ้นมาใหม่อีกแนวความคิดหนึ่ง เรียกว่า “ปฏิรูปนิยม”ธีโอดอร์บราเมลด์(Theodore Brameld) นักปรัชญาการศึกษาชั้นนําของอเมริกาได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของปฏิรูปนิยม เนื่องจากปฏิรูปนิยมแยกออกมาจากพิพัฒนาการนิยม บราเมลด์จึงได้พยายามเสนอแนวคิดของปฏิรูปนิยมให้แตกต่างไปจากพิพัฒนาการนิยม พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่า เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างระเบียบทางสังคมขึ้นมาใหม่ การจัดหลักสูตรตามแนวของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูป และสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชนประเทศ และระดับโลกในที่สุดการสอนจะมุ่งเน้นกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม การพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อสังคมและการปฏิรูปให้สังคมดีขึ้น และจะไม่เน้นการถ่ายทอดวิชาความรู้โดยการบรรยายของครูมากเหมือนหลักสูตรในปรัชญาสารนิยม แต่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสํารวจความสนใจ ความต้องการของตนเองและสนองความสนใจด้วยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาของสังคม พร้อมทั้งหาข้อเสนอแนะและแนวทางในการปฏิรูปด้วยปรัชญานี้เกิดจากทัศนะเคอการ์ด (Soren Kierkegard) และสาตร์ (Jean Paul Sartre) ปรัชญานี้ให้ความสนใจที่ตัวบุคคล หรือความเป็นอยู่ มีอยู่ของมนุษย์ ซึ่งมักถูกละเลย ซึ่งพวกเขามีความคิดเห็นว่าสภาวะโลกปัจจุบันนี้มีสรรพสิ่งทางเลือกมากมายเกินความสามารถที่มนุษย์เราจะเรียนรู้ จะศึกษา และจะมีประสบการณ์ได้ทั่วถึงฉะนั้นมนุษย์เราควรจะมีสิทธิ์หรือโอกาสที่จะเลือกสรรพสิ่งต่าง ๆปรัชญานี้มีรากฐานมาจากสภาวะวุ่นวายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสงคราม และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรื่องของอนาคตไม่อยู่ในความสนใจของนักปรัชญาสาขานี้ เพราะตามสภาพแวดล้อมในสังคม อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถจะคาดการณ์ได้ เป็นอนาคตที่ไม่แจ่มใสนัก ไม่ชวนให้คิดถึง พวกที่เชื่อในปรัชญานี้จึงหันมาเน้นการอยู่เพื่อปัจจุบัน คนเราจะอยู่ในสังคมเช่นนี้ได้จะต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุข สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้ กล้าตัดสินใจเลือกที่จะทาสิ่งหนึ่งสิ่งใดและยอมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนทําปรัชญานี้เน้นความสําคัญของบุคคลแต่ละคน และเน้นการดํารงชีวิตอยู่ในปัจจุบันการจัดการศึกษาตามปรัชญานี้จึงให้ความสําคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด และสนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสําคัญของชีวิตของเขาเองผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ และรับผิดชอบในการตัดสินใจหรือการกระทําของตนกระบวนการเรียนการสอนยึดหลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเองและเป็นตัวของตัวเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร โดยมีครูกระตุ้นให้แต่ละบุคคลได้ใช้คําถามนําไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน มุ่งพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลข้อสังเกตเกี่ยวกับปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม1. เน้นเอกัตบุคคลเป็นสําคัญ2. คํานึงถึงความแตกต่างส่วนบุคคล จึงทําให้แนวคิดที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองประสบความสําเร็จ เช่นระบบในโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ โรงเรียนไม่มีการแบ่งชั้น (Non-Grade) โรงเรียนไม่มีผนัง (SchoolWithout Wall)3. ปรัชญานี้มุ่งส่งเสริม 4 ประการ คือ การพัฒนาตนเอง อิสรภาพ การเลือกและความรับผิดชอบ
57