อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนาความเจริณรุ่งเรืองสมัยราชวงศ์มังรายล้านนาหลังสิ้นราชวงศ์มังรายกษัตริย์ราชวงศ์มังรายเศรษฐกิจกฎหมายศาสนาพระเจ้ากือนาพระเจ้าติโลกราชตอนปลายสมัยราชวงศ์มังรายล้านนาอ่อนแอลงมากเนื่องมาจากสถาบันกษัตริย์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขุนนางและมีการรุกรานจากภายนอก ทั้งจากอยุทธยา ไทใหญ่และพม่า ในที่สุดก็ถูกกองทัพของพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่าเข้ายึดครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ใน พ.ศ.2101ในช่วงที่พม่าปกครองบางครั้งกองทัพจากอยุทธยาได้ไปโจมตีเชียงใหม่ได้สำเร็จ เช่น ในสมัยสมเด็จพนะเนรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในบางช่วง ไทยกับพม่าเกิดปัญหาภายในประเทศ อาณาจักรล้านนาได้ตั้งตนเป็นอิสระ เช่น ระหว่าง พ.ศ.2270-2306หากในช่วงใดพม่ากลับมาเข้มแข็งใหม่พม่าจะยกทัพไปยึดอาณาจักรล้านนาอีศิลปกรรมตัวอักษรวรรณกรรมกษัตริย์องค์ที่ 6 ของอาณาจักรล้านนาพระราชกรณียกิจสำคัญ คือการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัย ต่อมาทรงสร้างวัดบุปผารามขึ้นในปี พ.ศ1914 ให้เป็ฯที่จำพรรษาของพระสุมนเถระ ทั้งเป็นสำนักเรียนและศูนย์กลางของึณะสงฆ์แบบลังกาวงศ์ และทรงสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บนดอยสุเทพเมื่อพ.ศ.1916 กษัตริย์องค์ที่ 9 ของอาณษจักรล้านนา เป็นกษัตริย์ที่ทรงเดขานุภาพมากที่สุดของล้านนา ทรงสร้างความมั่นคงและขยายอาณาเขตล้านนาออกไปอย่างกว้างขวาง ในสมัยของพระองค์ล้านนาทำสงครามต่อเนื่องกับอยุธยาตั้งแต่พ.ศ.2003ถึงพ.ศ2017 พระเจ้าติโลกราชทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริณรุ่งเรืองเป็นอย่างมาทรงสร้างวัดหลายวัด เช่น วัดป่าแดง วัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) ทรงส่งเสริมการศึกษาทางศาสนา เช่น จัดสังคายณาพระไตรปิฎทั้งยังอัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงใหม่อีกด้วเศรษฐกิจของล้านนาขึ้นอยู่กับการเกษตรและการค้า ในด้านการเกษตรมีภูมิปัญญาหลายอย่างที่ล้านนานำมาใช้ตั้งแต่สมัยพระยามังราย เช่น การสร้างเหมืองฝายขนาดเล็กโดยใช้ท่อนไม้วางขวางลำน้ำให้มีระดับสูงขึ้แล้วระบายน้ำไปตามคูน้ำส่งน้ำไปยังไร่นาในด้านการค้า เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างเมืองที่อยู่เหนือของเมืองเชียงใหม่ขึ้นไปกับเมืองทางใต้และตะวันตกพระยามังรายทรงบัญญัติกฎหมายที่รเียกว่า มังรายศาสตร์ ขึ้นใช้ และได้ใช้กันต่อมาตลอดสมัยราชวงศ์มังราย กฎหมายนี้มีเนื้อหาสาระหลายเรื่อง เช่น โทษของการหนีศึก การให้ไพร่เข้าเวร การสร้างไร่นา การกู็เงิน การรับมรดก ลักษณะความผิดและการลงโทษ การทะเลาะวิวาท การลักพาเดิมชาวลาวนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถระวาทจามแบบหริภุณชัย ต่อมารับพระพุทธศาสนานิกายเถระวาทแบบลังกาวงศ์ผ่านมาทางสุโขทัย และตอนหลังได้ส่งพระสงฆ์หลายรูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกาโดยตรง กษัตริย์และประชาชนชาวล้านนามีความเชื่อและศัทธาในพระพุทธศาสนามากโดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนศิลปะกรรมระยะแรกของล้านนามีพื้นฐานจากศิลปะจากหริภุณชัยผสมผสานกับอิทธิพลศิลปะพม่าหรือพุกาม และเมื่อได้รับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากสุโขทัยมาในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ก็ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วยการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของล้านนพระยามังรายทรงประดิษฐ์ตัวอักษรที่เรียกว่า อักษรธรรม ขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากตัวอักษรมอญ อักษรธรรมใช้ในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ใช้ในราชการ ใช้ในการเขียน ตำนานและจารึกต่างๆทำให้เราทราบเรื่องราวในประวัติศาสตร์ล้านนาได้มาก ตัวอักษรแบบนี้นอกจากใช้ในล้านนาแล้วยังแพร่ไปยังอาณาจักรล้านช้างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้แต่งเรื่องสำคัญ ได้แก่ ชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงศ์ สิหิงคนิทาน และตำนานมูลศาสนา
930 1