MindMap Gallery แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ แผนที่ความคิด
Edited at 2021-07-12 17:59:31แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 ( (2504-2509))
เน้นการขยายสถานบริการสาธารณสุขได้แก่โรงพยาบาลและ สถานีอนามัย ให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง แต่ยังไม่เน้นหนักในส่วนภูมิภาคเท่าที่ควร สำหรับงานด้านอนามัย ปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อนั้นได้ดำเนินการ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นในเรื่องการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในชนบทห่างไกล
ฉบับที่ 2 (2510-2514)
เน้นการวางแผนกำลังคนและการ กระจายการพัฒนาสู่ชนบท เร่งรัดการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข การปรับปรุงบริการสาธารณสุขโดยขยายขอบเขตการบริการ ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในชนบทห่างไกล มีการบังคับนักศึกษาแพทย์ให้ทำสัญญาปฏิบัติงาน ชดใช้ทุนเป็นครั้งแรก ในพ.ศ 2508 ผลการดำเนินงานพบว่า การผลิตแพทย์และพยาบาลยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ในแผนการส่งเสริม สุขภาพมีอัตราความก้าวหน้าสูงกว่าช่วงแผนหนึ่ง เช่น ผลงาน BCG เพิ่มเป็น 3 เท่า การรักษาพยาบาล ครอบคลุมประชากรได้ร้อยละ 11 สถานบริการระดับอ าเภอ เพิ่มจากร้อยละ 42.3 เป็นร้อยละ 54.9 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
ฉบับที่ 3 (2515-2519)
เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น กำหนดนโยบายประชากรเป็นครั้งแรก มุ่งเน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัวการ ควบคุมโรคติดต่อ การปรับปรุงและขยายการบริการรักษา มีการทดลองรูปแบบการพัฒนา อนามัย สิ่งแวดล้อมด้วย พัฒนาความร่วมมือของประชาชนและมีนโยบาย การให้บริการรักษาพยาบาลฟรี แก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2518 อัตราเพิ่มของประชากรลดลง 31.5 ต่อพัน เป็น 2671 ต่อพัน อัตราตายของประชากรลดลง 11.6 ต่อพัน เป็น 10.9 ต่อพัน การผลิตบุคลากรสาธารณสุขยังต่ำกว่าเป้าหมาย แพทย์ใช้ทุนเริ่มปฎิบัติงานในพ.ศ. 2515 ทำให้มีภาพในชนบทมากกว่าขึ้น ในส่วนของ การขยายบริการในลักษณะจำนวนเตียง จำนวนสถานบริการและการให้ภูมิคุ้มกันโรคยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ฉบับที่ 4 (2520-2524)
มุ่งเน้นการแก้ไขและลดช่องว่างของ ปัญหาสาธารณสุข การให้บริการสาธารณะสุขแบบผสมผสานแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเริ่ม ตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 โดยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐานในพ.ศ. 2522 โรคติดต่อ บางอย่างลดลงจนไม่เป็นปัญหา เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ประชาชนในชนบทยังมีสุขภาพอนามัยไม่ดีเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดแคลนน้ำสะอาดในการ บริโภคและมีพฤติกรรมที่เสี่ยง ต่อการเกิดโรคได้ สถานบริการเริ่มมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ แทนศูนย์การแพทย์และอนามัย และมีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2521 มี การอบรมผสส. / อสม. ครั้งแรกในพ.ศ. 2520
ฉบับที่ 5 (2525-2529)
เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก เน้นการพัฒนาชนบทอย่างผสมผสาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้ ระบบของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) การให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสาธารณสุขมูลฐาน การจัดตั้งโรงพยาบาลระดับอำเภอให้ ครบทุกอำเภอ รวมทั้ง ยกฐานะสำนักงาน ยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัย ทั้งหมดและการตั้งเป้าหมายทางสังคมระยะยาว (20 ปี) "สุขภาพดีถ้วนหน้า 2543 " จัดตั้ง โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอและครอบคลุมร้อยละ 85.2 และสถานีอนามัยและครอบคลุมร้อย ละ 97.9 การผลิตแพทย์และพยาบาล สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 93.6 และร้อยละ 93.8 ของ เป้าหมายตามล าดับการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ถึงร้อยละ 126.9 ของ เป้าหมายการอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุขได้ถึงร้อยละ 119.6 ของเป้าหมายรวมทั้งจัดตั้งกองทุนยาได้ ถึงร้อยละ 232.2
ฉบับที่ 6 (2530-2534)
ขยายสถานบริการสาธารณสุขให้ครบตามเป้าหมายการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาและการรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์ เพื่อไม่ให้กระทบ ต่อความมั่นคงของชาติและเริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ ประชาชนมีอายุยืนยาว ขึ้นเป็น 60.8 ปีและ 64.8 ปีในเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ อัตราการตายของมารดา และทารกลดลงสถานบริการสาธารณสุขครอบคลุมครบจนถึงระดับอำเภอ / ตำบล ให้ความสำคัญกับปัญหาสาธารณสุขใหม่คือเอดส์ อุบัติเหตุ หัวใจ มะเร็ง สุขภาพจิต
ฉบับที่ 7 (2535-2539)
การพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นจุดเชื่อมของงานสุขภาพดีถ้วนหน้า และการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐาน เน้นความพยายามในการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เริ่มหันมาเน้นการพัฒนา คุณภาพบริการ และการแก้ปัญหาขาดแคลน บุคลากรที่ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ มีการกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง ทั้งในเมืองและชนบท แต่มีปัญหาการขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะแพทย์อย่างรุนแรง อัตราการเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ใน พ.ศ. 2537 การสร้างหลักประกันสุขภาพได้ครอบคลุมร้อยละ 72 ของประชาชนทั้งหมดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการให้วัคซีน ขั้นพื้นฐานในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีมีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 80 จึงทำให้อัตราการป่วยจากโรคดังกล่าวลดลง
ฉบับที่ 8 (2540-2544)
เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็น วัตถุประสงค์หลักเน้นการพัฒนาศักยภาพของคน ในด้านสุขภาพโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพ เน้นเรื่องความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ ให้บริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนา อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ด้าน สาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 9 (2545-2549)
เน้นสุขภาพคือสุขภาพวะ พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับสุขภาพ ระบบสุขภาพพอเพียง ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ เริ่มกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา สุขภาพโดยมีวิสัยทัศน์ว่า "คนในสังคมไทยทุกคน มีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพวะ และเข้าถึงบริการ สุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัวชุมชนและสังคมที่มี ความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพมีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการ จัดการสุขภาพโดย สามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู้เท่าทัน"
พันธกิจหลัก:
การระดมพลังทางสังคมเพื่อสร้างสุขภาพ ( All for Health ) ระดมพลังทางสังคมเพื่อร่วมสร้างสุขภาพ โดยจะต้องทำให้เกิดสำนึก สุขภาพในสังคมทุกส่วนอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้ส่วนต่างๆใน สังคมมีบทบาทและได้ใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาเพื่อบรรลุ สู่สังคมแห่งสุภาวะมี 10 เป้าหมาย
1. การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
2. คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ
3. การสร้างความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ
4. การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างองค์กร / กลไกของรัฐในการพัฒนาสุขภาพ
5. การสนับสนุนการกระจายอ านาจด้านสุขภาพ
6. การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของประชาชน / ครอบครัว / ชุมชน / ประชาคม
7. การพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับต้นทั้งเขตเมืองและชนบทโดยเชื่อมโยงกับระบบ
บริการขั้นสูง
8. การพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุข
9. การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของระบบสุขภาพโดยเน้นการแพทย์แผนไทย
สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล
10. การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุขภาพยุทธศาสตร์การพัฒนา
6 ยุทธศาสตร์
1)เร่งการสร้างสุขภาพเชิงรุก
2)การสร้างหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการสุขภาพตัวหน้า
3)ปฏิรูประบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
4)การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม เพื่อสุขภาพ
5)การบริหารจัดการความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ
6)การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและระบบสุขภาพใหม่
ฉบับที่ 10 (2550-2554)
แนวคิดน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและยึดหลักการสุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี วิสัยทัศน์: มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง เพื่อสร้างให้สุขภาพดีบริการดีสังคมดีชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
พันธกิจ :
สร้างเอกภาพทางความคิดสร้างจิตรสำนึกสุขภาพใหม่ สร้างระบบจัดการที่โปร่งใส สร้างกลไกการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา
6 ยุทธศาสตร์
1)การสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการ จัดการระบบสุขภาพ
2)การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขในสังคมแห่งสุขภาพวะ
3) การสร้างระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ผู้รับบริการอุ่นใจผู้ให้บริการมีความสุข
4)การสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพ
5)การสร้างทางเลือก สุขภาพที่หลากหลาย ผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากล
6)การสร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ในการ จัดการความรู้
ฉบับที่ 11 (2555-2559)
หลักการมุ่งพัฒนาภายใต้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างเอกภาพ และธรรมาภิบาล ในการอภิบาลระบบสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการสร้าง กระบวนการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมมุ่งเน้นการสร้าง หลักประกันและการจัดบริการที่ครอบคลุมเป็นธรรมเห็นคุณค่าของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่าง ผู้ให้และผู้รับบริการ วิสัยทัศน์ : "ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีร่วมสร้างระบบสุขภาพพอเพียงเป็นธรรม นำสู่สังคมสุขภาพวะปลุก"
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564)