MindMap Gallery แนวทางการพัฒนาการจัดการของเสียอันตราย
แนวทางการพัฒนาการจัดการ ของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ
Edited at 2021-08-08 09:16:46แนวทางการพัฒนาการจัดการ ของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ
จัดทำโดย นางสาวอังคณา สิงขรขจรชีพ 631120202 นางสาวปาริฉัตร แย้มคำ 631120211 นางสาวรีลาวรรณ อินทศร 631120221 นางสาวปัทมา พันธ์ศรี 631120226
7.อภิปรายผล
การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์โดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำมาวิเคราะห์แยกแยะ ประเด็นตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยจะเห็นได้ว่าในประเด็นแรกการจำแนกประเภท ของขยะจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่
ขยะไม่อันตรายหรือขยะไม่ปนเปื้อน และของเสียอันตราย อาทิ ขยะติดเชื้อ และของเสียสารเคมี ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการแต่ละที่
ห้องปฏิบัติการทางเคมี ใช้ระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบสากล คือ Globally Harmonised System for Classification and Labeling of Chemicals หรือเรียกว่าGHS โดยแบ่งความเป็นอันตรายออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม
ความเป็นอันตรายด้านสุขภาพมี 10 ประเภท ได้แก่ ความเป็นพิษเฉียบพลัน การกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ การกัดกร่อน หรือการระคายเคืองต่อผิวหนัง การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง หรือการระคายเคืองต่อดวงตา การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนัง
เมื่อมีการจำแนกประเภทขยะ และของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญ คือ การรวบรวมและ การจัดเก็บของเสียอันตรายภาย ใน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1)การจัดการข้อมูลของเสียอันตรายต้องมีระบบบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการเก็บและติดตามของเสียตั้งแต่ข้อมูล การจำแนก และเก็บ เพื่อรอการกำจัดจนถึงขั้นตอนการส่งไปกำจัดเพื่อที่จะสามารถออกแบบรายงาน ตามช่วงเวลาได้ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วย ในการจัดการงบประมาณ ที่จะใช้ในการกำจัดของเสีย
2)การลดการเกิดของเสียต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการทดลองการลดการเกิดของเสียใช้หลัก 3R ดังนี้ Reduce คือ การทำให้เกิดขยะหรือของเสียให้น้อยที่สุดตั้งแต่ต้นทาง
3)การแยกประเภทและเก็บของเสียหลักการสำคัญในการแยกประเภทของเสีย คือ การแยกเก็บตามประเภท ความเป็นอันตราย ความเข้ากันได้ และวิธีการบำบัด โดยสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือของแข็ง ของเหลว ของเสียอันตรายพิเศษ
4) การบำบัดของเสียเบื้องต้น ตัวอย่างการบำบัดของเสียเบื้องต้น เช่น การลดปริมาตร การปรับพีเอช (pH) ให้เป็นกลาง และการลดความเป็นอันตรายของสารที่มีความเป็นอันตรายเฉพาะอื่น ๆ
ด้านบุคลากร (Man) เจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจัดการกับของเสียอันตรายมีจำนวนไม่เพียงพอและขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการของเสียอันตรายที่ถูกหลักวิชาการอีกทั้งประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป จึงไม่มีการปลูกฝังการรักษ์สิ่งแวดล้อมมากเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมากมาย
ด้านงบประมาณ (Money) เนื่องจากภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำให้งบประมาณในการดำเนินการด้านการจัดการของเสียอันตรายมีไม่เพียงพอจึงเกิดปัญหาการลักลอบ ทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมทำให้ดินและน้ำปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนัก จนเกิดเป็นคดีสิ่งแวดล้อม
ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Material) การดำเนินทดลอง และทดสอบภายในห้องปฏิบัติการ นอกจากจะมีสารเคมี และสารชีวภาพแล้ว ยังมีอุปกรณ์เครื่องแก้วที่ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งอาจก่ออันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและเมื่อไม่มีระบบการคัดแยกประเภทขยะ และการจัดการของเสียสารเคมีและของเสียชีวภาพให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นทางอาจทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนสารเคมี รวมทั้งของเสียสารเคมี และชีวภาพออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้
ด้านการจัดการ (Management) เมื่อทำการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์และการศึกษาจากเอกสารทำให้เห็นถึงจุดอ่อน และอุปสรรคของการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ จุดอ่อนของการดำเนินการ คือ การขาดความใส่ใจในการจัดการของเสียให้เกิด เป็นระบบ และการขาดความรู้ในเรื่องของ
ผลการศึกษา
การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 เรื่องและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยสามารถสรุปตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ประเด็น
1.การจำแนกประเภทของขยะจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ ของเสียในห้องปฏิบัติการประเภทที่ไม่เป็นอันตราย (Non-Hazardous Waste Stream) หรือของเสีย ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2563 135 อันตรายต่ำ เช่น ของเสียทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก กระดาษชั่งสาร กระดาษทิชชู กระดาษปูโต๊ะภายในห้อง ปฏิบัติการ วัสดุที่ทำจากพลาสติก และวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย เป็นต้น
2.แนวทางการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาเชิงเอกสารของ (Sattayadit & Sanphoti, 2013) สามารถสรุปได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านการเก็บรวบรวม ต้องมีเครื่องหมายความเป็นอันตราย และพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเก็บของเสียประเภทต่าง ๆ ด้านการเคลื่อนย้าย มีภาชนะที่เฉพาะ ในการเก็บและมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบปริมาณของ
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
ศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายสิ่งแวดล้อม มาตรฐานสิ่งแวดล้อม นำมาวิเคราะห์แยกแยะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาการจัดการของเสียอันตราย จากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จึงค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร (Document Research) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 5 เรื่อง
1. วิธีการจำแนกประเภทของของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
2. การจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
3. ความรู้ความเข้าใจในการจัดการของเสียในของปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
4. มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
5. นโยบายในการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
แนวทางการทำวิจัย
วิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภทขยะปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อน การบริหารจัดการของเสียอันตราย จากห้องปฏิบัติการมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาตรฐานห้องปฏิบัติการรวมทั้งกฎหมายที่ควบคุมการจัดการ ของเสียอันตรายนำมาวิเคราะห์แยกแยะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา ของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประกอบการศึกษาวิจัย
1. การจำแนกประเภทขยะปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ภายในประเทศนักศึกษาวิเคราะห์เพื่อรวบรวมปัญหาในการจัดการของเสียมาสรุป ให้มีความชัดเจนและถูกลักวิชาการ
ประเด็นที่ศึกษา 1.วิธีการจัดการประเภทของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
2.การจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
3.ความรู้ความเข้าใจในการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
4.มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
5.นโยบายการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ
2. สัมภาษณ์แบบมีโครงการจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมาวิเคราะห์ และตีความจากบทสัมภาษณ์
ประเด็นที่สัมภาษณ์ 1.วิธีการจำแนกประเภทของเสีย
2.การจัดการของเสียอันตรายภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
3.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอันตราย
4.มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
5.ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของสังคมไทยจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมเมืองเกิดการขยายตัว ด้านการท่องเที่ยว การดำเนินการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ ส่งผลให้เกิดการทดสอบทดลอง ภายในห้องปฏิบัติการทางเคมี และทางชีวภาพ ทำให้เกิดของเสียจากห้องปฏิบัติการและเป็นแหล่งกำเนิดของขยะอันตรายที่สำคัญแห่งหนึ่ง หากไม่มีกระบวนการจัดการขยะอันตราย จะก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม
จากงานวิจัยของ (Vannasaeng, 2009) กล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมไว้ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มกฎหมายมหาชน
กลุ่มกฎหมายเอกชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการจำนกประเภทขยะปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ที่มาและความสำคัญ
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นจากสถิติข้อมูลของ กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีปริมาณขยะมูลฝอย เกิดขึ้นประมาณ27.8ล้านตันเนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จากสังคมเกษตรสู่สังคมเมือง
การส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งรัฐบาลยังมุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรม เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดโรงงานบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นโดยกระจายตัวอยู่ในแต่ละภาค นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการต่างๆเช่น ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการเคมี และห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาก็เป็นแหล่งกำเนิดของขยะอันตรายที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มักถูกละเลยไป
กระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทำให้เกิดขยะและเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
การใช้สารเคมีที่ใช้แล้วสู่แหล่งแม่น้ำสาธารณะโดยไม่ได้ผ่านการบำบัด
การปล่อยน้ำเสียของโรงงานที่ผลิตสาร ลงสู่แม่น้ำ
ทำให้เกิดโรคมินามาตะ เมื่อปี 2486
การควบคุมจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะที่ประยุกต์ใช้หลักการด้าน 3R
1.Reduceลดการใช้(คิดก่อนใช้)เป็นการควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
2.Reuseนำกลับมาใช้ซ้ำ(ใช้แล้วใช้อีก)เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ
3.Recycleนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการคัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หมุนเวียนกลับมาเข้าสู่กระบวนการผลิตแต่ละประเภทได้