MindMap Gallery ดนตรีสากล ม4ห้อง4 เลขที่5
ดนตรีสากล ม4ห้อง4 เลขที่5 (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก ศตวรรษที่ 20 ยุคกลาง ยุคคลาสสิก ยุคโรแมนติก) เอาไปใช้ได้ ให้ใส่เครดิตด้วยว่า นายอิสรภาพ แซเ่ห่ง
Edited at 2021-08-19 10:01:15ดนตรีสากล
THE RENAISSANCE PERIOD เพลงในสมัยนี้ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอนคือยังไม่มีการแบ่งเป็นห้อง เป็น3/4หรือ4/4เพลงส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบ ขั้นตอนต่างๆของพิธีทางศาสนาที่สําคัญบทเพลงร้องในศาสนานิกายโรมันคาทอลิคมีทั้งการขับร้องเดี่ยวขับร้องหมู่เป็นเสียงเดียว โมเต็ทเป็นเพลงร้องทางศาสนาแต่เดิมไม่มีดนตรีประกอบและเนื้อร้อง ส่วนใหญ่เป็นภาษาละตินเป็นเพลงร้องที่มีสองแนวเสียงและทั้งสองแนวเสียงมีคําร้องที่ไม่เหมือนกันเพลงหมดติดบางเพลงจะกําหนด ให้ใช้เครื่องดนตรีที่ช่วยบรรเลงแนวทํานองบนที่เป็นเสียงสูงด้วย แมดริกัลมักจะเป็นเพลงที่สนุกสนานใช้ภาษาประจําชาติของตนเองเนื้อร้องจะเกี่ยวข้องกับความรักหรือกล่าวยกย่องบุคคลสําคัญ เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้เครื่องดนตรีที่นํามาใช้ในการบรรเลง ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยัง คงรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น
บาโรก ในด้านดนตรีผู้นําคํานี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีในยุโรปเริ่มตั้งแต่ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 17 สิ้นสุดลงในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเวลาร่วม 150 ปี บาโรกได้ปรากฏการณ์ในบทประพันธ์ของเจ เอส บาคและยอร์ชฟริเดริค เฮนเดลทั้งสองคนนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจสไตล์โมโนดีซึ่งในบทเพลงจะมีแนว ขับร้องเพียงแนวเดียวดําเนินทํานองและมีแนวสําคัญที่เรียกในอิตาเลี่ยนว่า เบสโซคอนตินิวโอ นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทํานองสั้นสั้นมาบรรเลงซํ้าๆกันโดยเลียนแบบให้สูงขึ้นหรือตํ่าลงเป็นลําดับหรือไม่ก็ซํ้าอยู่ในระดับเดียวกัน ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลง ในยุคนี้คือวิวาลดีเพลงที่เค้าเขียนส่วนใหญ่เป็นเพลงประเภทคอนแชร์โต ซึ่งเป็นเพลงสําหรับเดี่ยวคนเดียว ลักษณะสําคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโลกคือการทําให้เกิด ความตัดกันเช่นในด้านความเร็ว-ความช้า ความดัง-ความค่อย ในสมัยบาโลกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบันคือการใช้บรรทัดห้าเส้นการใช้กุญแจซอน กุญแจฟา กุญแจอันโตและกุญแจเทนเนอร์
ศตวรรษที่20 ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมากเนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่คีตกวีพยายามสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมามีการทดลองการใช้เสียงแปลกๆ การประสานเสียงทํานองเพลงที่มีทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่คีตกวี เริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ที่ถูกบังคับโดยระบุ กุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์พยายามหาทางออกต่างๆ จัดลําดับคอร์ดในค.ศ 20 ทําตามความต้องการของตนทํานองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุมเหมือนทํานอง ยุคคลาสสิคหรือโรมันติกฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎทางด้านทฤษฎีแล้วยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้า มาประกอบด้วยเช่นมีการใช้เสียงซึ่งทําขึ้นโดยระบบไฟฟ้าเป็นสัญญาณ เสียงในระบบอนาล็อกและดิจิตอล จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนา เปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในศตวรรษที่ 20 คือคีตกวีมีความคิดที่ทดลองสิ่งใหม่ๆแสวงหาทฤษฎีใหม่ๆขึ้นเพื่อรองรับ ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้กับตนเอง ดนตรีอีกลักษณะคือบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่อง ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเสียงเกิดจากคลื่นความทีจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติที่มีอยู่แต่การจัดโครงสร้างของดนตรียังเน้นที่องค์ประกอบ 4 หลักประการเหมือนเดิม
ยุคกลาง ในสมัยกลางนี้บทเพลงเป็นศูนย์กลางทางด้านดนตรีศิลปะ ศึกษาและการเมือง บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากการประสมประสานระหว่างดนตรีโรมันโบราณกับดนตรียิวโบราณเพลงแต่งเพื่อวิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่โดยนําคํา สอนของพระคัมภีร์มาร้องเป็นทํานองเพื่อให้ประชาชนได้เกิดอารมณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มข้นขึ้นได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวดที่เรียกว่า ชาน จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์พระผู้นําศาสนาในยุคนั้นคือผู้รวบรวม บทสวดที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่เปลี่ยนคําร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน มีการกําหนดลําดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน วิวัฒนาการที่สําคัญที่สุดของตนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่9 คือการเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่งเป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทํานองหลัก กําหนดให้ร้องพร้อมกันไปวิธีการเขียนเพลงที่มีสองแนวนี้เรียกว่าออร์แกนนุม ในช่วงปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้างโดยมี กลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆเปิดการแสดงดนตรีประกอบการ เล่านิทานหรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากลโดยจุดมุ่งหมายคือ ความบันเทิง
ยุคคลาสสิค เป็นยุคของดนตรีระหว่างค.ศ. 1750 ถึง 1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ มากขึ้นดนตรียุคคลาสสิคมีลักษณะความเป็นจริงในรูปแบบในยุคนี้ดนตรี บรรเลงมีความเด่นกวาดเพลงร้อง ลักษณะของดนตรีในยุคคลาสสิคที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัดคือการไม่นิยมการสอดประสานของทํานองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ หันมานิยมเน้นทํานองหลักเพียงทํานองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ ทํานอง ไพเราะขึ้นคือ การใส่เสียงประสาน สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุกทุกอย่างเกี่ยวกับการประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อๆมาได้นํารูปแบบในสมัยนี้ใช้ และให้ลึกซึ้งหรือแปลเปลี่ยนไปเพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ ในยุคคลาสสิคเลิกนิยมการสอดประสานของทํานอง แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี่คือการเน้นทํานองหลัก เพียงทํานองเดียวแต่มีแนวเสียงอื่นมาประสานให้ทํานองไพเราะมากขึ้นและความสําคัญของการโดนสดเริ่มหมดไปในยุคนี้เพราะดนตรีส่วนมากมีการ เ ขียน เสียงประสานครบถ้วนคีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน
ยุคโรแมนติก ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณค.ศ. 1820 ถึง 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีนักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกถึงความรู้สึก ของตนเองได้เต็มที่แหละต้องการสร้างสไตล์การเขียน เพลงของตนเองด้วยทําให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกัน ไปอารมณ์ สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัดดนตรีในยุคนี้จึงไม่คํานึงถึงรูปแบบและความสมดุลนอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้วคีตกวียังชอบ เขียนเพลงบรรยาย ธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝันของตนเองโดยพยายามทําเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กําลังบรรยายมากที่สุด ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วยคือขี้ตะกวีจะแสดงออกโดยใช้ทํานอง เพลงเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่งขึ้นหรือแต่งให้มีสําเนียงของชาติตนเอง มากที่สุดโดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติซึ่งผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่ กรมเกรียวกันรักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่ อยู่อาศัย
นายอิสรภาพ แซ่เห่ง ม.4/4 เลขที่5