หน่วยที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ภัทรมาศ)
64
การกำหนดปัญหาการวิจัย และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
Tags:
Similar Mind Maps
Outline


ความหมาย ปัญหาการวิจัย (Research problem) หมายถึง ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์
ต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการดำเนินการหาคำตอบ
โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรง
กับข้อเท็จจริง
สาเหตุปัญหาการวิจัย 1.ตัวแปรที่ใช้ทำวิจัยมีอยู่มากมาย 2.ไม่มีปัญหาหรือข้อสงสัยใดที่หาคำตอบได้ครบสมบูรณ์3.ความรู้ข้อค้นพบทฤษฎีต่างๆที่สะสมไว้นั้นมีจำนวนมาก
ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่ดี 1.เป็นปัญหาที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ 2.ปัญหาการวิจัยนั้นต้องสามารถหาคำตอบได้ 3.ปัญหาการวิจัยควรสอดคล้องกับประสบการณ์ ความสนใจและความถนัดของผู้วิจัย 4. เป็นปัญหาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป 5.เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น 6.สามารถกำหนดระยะเวลาแรงงานและทุนทรัพย์ ในการดำเนินการได้
แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย 1. จากประสบการณ์ของผู้วิจัย 2.จากทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 3.จากการอ่านหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้อง กับการวิจัย 4. จากแรงที่ให้ทุนอุดหนุนการวิจัย 5. จากบทคัดย่องานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ 6.จากข้อเสนอแนะของผลงานวิจัยที่ทำมาแล้ว 7.วารสารวิจัยเฉพาะสาขาวิชา 8.นำคำพูดข้อเสนอหรือข้อคิดจากผู้รู้หรือ ผู้ทำงานในสาขานั้นนั้นมาคิดเพื่อตรวจสอบ คำพูด ข้อเสนอ
เกณฑ์การเลือกปัญหาการวิจัย 1.เกณฑ์ความสนใจ 2. เกณฑ์เกี่ยวกับความสามารถของผู้วิจัย 3.เกณฑ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการประหยัด 4.เกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นเอกลักษณ์ 5. เกณฑ์เกี่ยวกับคุณค่าของปัญหา 6.เกณฑ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต่อการวิจัย
กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัยอาจกระทำ ได้หลายวิธี วิธีการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้วิธีการ เชิงระบบจะมี 4 ส่วนคือ 1. บริบท(context) 2. ปัจจัยป้อนเข้า (input) 3. กระบวนการ(process) 4. ผลผลิต(product)
การเขียนปัญหาการวิจัย 1.ปัญหาการวิจัยเขียนในลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรสองตัวหรือมากกว่า 2.ปัญหาการวิจัยควรเขียนในรูปประโยคคำถาม 3.ปัญหาการวิจัยนั้นจะต้องเขียนในรูปที่สามารถ ทดสอบเชิงประจักษ์หรือใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทดสอบหาคำตอบได้

1.ลักษณะการศึกษา
ชื่อเรื่องวิจัยควรระบุว่าใช้วิธีการศึกษาแบบใด
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ชื่อเรื่องวิจัยควรระบุตัวแปรที่ทำการศึกษาหรือบางครั้งอาจจะระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จะศึกษาด้วย
3. กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา
ชื่อเรื่องวิจัยควรระบุว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย ว่าเป็นใคร

ความหมายของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
เอกสารที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งได้แก่ตำราบทความหรือรายงานการวิจัยที่มีความสำคัญพอที่ จะอ้างอิงได้กับงานวิจัยที่ผู้วิจัยทำ
ประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
เอกสารอ้างอิงทั่วไป
เอกสารปฐมภูมิ
เอกสารทุติยภูมิ
ประโยชน์ของการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ทำให้ทราบข้อเท็จจริงทฤษฎีหลักการความรู้
ช่วยกำหนดปัญหาการวิจัยให้เหมาะสมและมีคุณค่า
หลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น
เป็นการแสดงถึงทิศทางและแนวโน้มของ การวิจัยที่ผ่านมา
เป็นการเรียนรู้งานวิจัยที่ผ่านมา
ให้เกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างในหัวข้อปัญหาการวิจัย
ช่วยในการเลือกตัวแปร
ช่วยในการกำหนดแบบแผนวิธีวิจัย
วัตถุประสงค์ของการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดในปัญหา
เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและวิธีการในการที่จะอธิบายปัญหาให้ชัดเจน
เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับตัวแปรที่ศึกษา
เพื่อนำความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษามาสร้างเป็น สมมุติฐานการวิจัย
เพื่อหาแนวทางในการวิจัยที่เหมาะสมกับปัญหา
เพื่อเป็นแนวทางในการรายงานผลการวิจัย
การเลือกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ความรู้ในเนื้อหาในเอกสารนั้นมีความถูกต้อง
เอกสารนั้นมีความทันสมัย
เป็นความรู้ใหม่หรือเป็นเรื่องที่ทันสมัย
เอกสารนั้นมีหนังสืออ้างอิง
เอกสารนั้นได้เสนอแนวคิดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย
เอกสารนั้นเป็นเครื่องชี้นำในการศึกษาข้อมูลของผู้วิจัย
ความรู้ในเอกสารนั้นมีประโยชน์ตรงกับความต้องการของผู้วิจัย
ผู้แต่งมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในงานเขียนเป็นอย่างดี
ภาพประกอบตารางภาพหรือแผนที่ถูกต้องชัดเจน
พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้
การเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
การจัดรูปแบบรายงาน
การเขียนรายงาน

หลักการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการ ศึกษาในเรื่องอะไร
2.ต้องเขียนให้สอดคล้องกับปัญหา การวิจัย
3.ใช้ภาษาที่กระทัดรัดแต่ได้ใจความชัดเจน
4.นิยมเขียนในรูปประโยคบอกเล่า
5.กรณีที่วัตถุประสงค์ของการวิจัย มีหลายข้อต้องเขียนเป็นข้อๆ
ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย จะขึ้นต้นด้วย "เพื่อ" แล้วตามด้วย ลักษณะ 3 ประการดังนี้
1.ลักษณะของการศึกษา เป็นการบ่งบอกว่าจะศึกษาในลักษณะใด
2.ตัวแปรผู้วิจัยจะต้องกำหนดว่าจะศึกษา เกี่ยวกับตัวแปรอะไร
3.กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย ควรระบุว่ากลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการศึกษาว่าเป็นใคร
