MindMap Gallery องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร แนวคิดหลักของแผนผังความคิดนี้: 1.ผู้ส่งสาร(Source/Sender) 2.ผู้รับสาร(Receiver) 3.สาร(message) 4.สื่อ หรือช่องทาง(Channel) 5.สิ่งรบกวน(Noise) 6.ปฏิกิริยาตอบกลับ(Feedback) 7.บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) 8.ผลของการสื่อสาร (Communication Effect)
Edited at 2021-08-23 15:40:15องค์ประกอบของการสื่อสาร
4.สื่อ หรือช่องทาง(Channel)
5.สิ่งรบกวน(Noise)
6.ปฏิกิริยาตอบกลับ(Feedback)
7.บริบทของการสื่อสาร (Communication Context)
8.ผลของการสื่อสาร (Communication Effect)
3.สาร(message)
2.ผู้รับสาร(Receiver)
1.ผู้ส่งสาร(Source/Sender)
การแบ่งประเภทของผลของการสื่อสาร สามารถจัดแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1.แบ่งตามเจตนาของผู้สื่อสาร ได้แก่ ผลที่เกิดโดยเจตนา และ ผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนา 2.แบ่งโดยใช้เกณฑ์ระยะเวลาที่เกิดผลได้แก่ผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นไม่ถาวรและผลที่เกิดขึ้น ในระยะยาวเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก 3.แบ่งตามลักษณะของผล ได้แก่ ผลเชิงบวก ผลเชิงลบ 4.แบ่งตามความเด่นชัดของผลที่เกิดขึ้นได้แก่ผลที่เด่นชัด ผลที่ไม่ปรากฏออกมา หรือ ไม่เด่นชัด
ผลของการสื่อสารมี 3 ลักษณะ คือ 1.เป็นการเปลี่ยนแปลง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้รับสาร 2.เป็นอิทธิพลระหว่างคู่สื่อสารโดยระดับความมากน้อยของอิทธิพลที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร สาร และ สื่อ 3.เป็นประสิทธิผลของการสื่อสาร คือเกิดผลหรือการเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ
ความหมาย: การเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างที่เกิดขึ้นหลังจากการสื่อสาร
บริบทของการสื่อสาร มี 5ประเภท คือ 1.บริบททางกายภาพ (The Physical Context) สภาพแวดล้อมที่มีตัวตน มีรูปร่างมองเห็นได้ เช่น ห้อง ถนนหนทาง 2.บริบททางวัฒนธรรม (The Cultural Context) ขนบ ธรรมเนียม ความเชื่อมาตรฐานหรือวัฒนธรรมของสังคมที่การสื่อสารนั้นกำลังดำเนินอยู่ 3.บริบททางสังคมและจิตวิทยา (The Social-Psychological Context) สถานภาพทางสังคม ตำแหน่ง บทบาทหน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่สื่อสารกัน เป็นบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้รูปแบบการสื่อสารแตกต่างกัน 4.บริบทของสารในบางสถานการณ์ (The Temporal Context) ในสถานการณ์บางอย่าง จำเป็นต้องระมัดระวังการใช้คำพูด เช่น ไม่ควรพูดกับคนที่เพิ่งสูญเสียคนอันเป็นที่รัก ในแบบเดียวกับคนที่เพิ่งถูกล็อตเตอรี่
ความหมาย:สภาพแวดล้อมในขณะที่เกิดการสื่อสารซึ่งมีผลต่อการตีความหมาย ความเข้าใจสารทำให้การสื่อสารนั้นชัดเจนหรือคลุมเครือ เช่น การทักทายว่า “เป็นไงบ้าง”
ประเภทของปฏิกิริยาตอบกลับ จำแนกได้ตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 1.ระยะเวลา(ความเร็ว)ที่เกิดการตอบกลับ มี 2ประเภท 1.1.ปฏิกิริยาตอบกลับทันทีทันใด 1.2.ปฏิกิริยาตอบกลับล่าช้า 2.ผลที่ได้รับจากปฏิกิริยาตอบกลับ มี 2ประเภท 2.1.ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวก 2.2.ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงลบ 3.รหัสสาร(ภาษา)ที่ใช้ตอบกลับ มี 2ประเภท 3.1ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงวัจนภาษา 3.2ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงอวัจนภาษา 4.ความตั้งใจในการตอบกลับ มี 2ประเภท 4.1.ปฏิกิริยาตอบกลับโดยตั้งใจ 4.2.ปฏิกิริยาตอบกลับโดยไม่ตั้งใจ
ความหมาย:ปฏิกิริยาหรือสารซึ่งผู้รับสารแสดงตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร หลังจากที่ได้รับสาร แล้วถอดรหัสและแปลความหมายของสาร
ประเภทของสิ่งรบกวน(Noise) สิ่งรบกวนที่มักเกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารมีหลายประเภท จำแนกตามลักษณะของสิ่งรบกวน ได้แก่ 1. สิ่งรบกวนทางกายภาพ (Physical noise) 2.สิ่งรบกวนทางชีววิทยา(Physiological noise) 3. สิ่งรบกวนทางจิตวิทยา(Psychological noise) 4. สิ่งรบกวนทางภาษา (Semantic noise)
ความหมาย:สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการสื่อสารที่ทาให้การสื่อสารผิดพลาด ไม่ราบรื่น ไม่ชัดเจน ไม่ประสบความสำเร็จทำให้สื่อสารกันไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ
เบอร์โล(Berlo,1960)อธิบายว่า ช่องทางการสื่อสาร(Channel) หรือ สื่อ (Media) มีความหมาย3ประการ คือ 1.ช่องทางที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสาร 2.ช่องทางที่เป็น “พาหนะ” นำสารไปยังประสาทสัมผัสทั้งห้า (ประสาทรับความรู้สึกหรือประสาทสัมผัสของมนุษย์ 5 อย่าง) 3. ช่องทางที่เป็นวิธีการเข้ารหัสและถอดรหัสสาร (Mode of Encoding and Decoding)
ความหมาย:ตัวกลางที่นำส่งสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารช่องทางหรือสื่อเป็นทางผ่านหรือ พาหนะของสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ประเภทของสาร:มี 2ประเภท 2.1 วัจนะสาร (Verbal message) คือสารที่อยู่ในรูปแบบ การพูด หรือ การเขียน 2.2.อวัจนะสาร(NonVerbal message) คือสารที่อยู่ในรูปแบบอื่นไม่ใช่การพูดหรือการเขียน เช่น ดนตรี การเต้นรำ ภาพวาด การแสดงสีหน้า กิริยาท่าทาง สัญญาณไฟ ควัน สี ธง
ความหมาย:สิ่งที่ผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารในรูปของรหัส (Code) อาจเป็นคำพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ เครื่องหมายหรือกิริยาท่าทางต่างๆ ที่แสดงหรือถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
ประเภทของผู้รับสาร:1.แบ่งตามจำนวนของผู้รับสาร มี 4 ประเภท 1.1.ผู้รับสารรายบุคคล (Individual Receiver) 1.2. ผู้รับสารกลุ่มเล็ก (Small Group Audience) 1.3. ผู้รับสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Audience) 1.4.ผู้รับสารมวลชน (Mass Audience) 2.แบ่งตามความกระตือรือร้น มี 2 ประเภท คือ 2.1.ผู้รับสารที่กระตือรือร้น(Active Audience) เป็นผู้รับสารที่ให้ความสนใจตอบสนองต่อสารที่ได้รับอาจมีการสื่อสารกลับหรือทำตามที่ผู้ส่งสารเสนอให้ทำ 2.2.ผู้รับสารที่เฉยชา (Passive Audience)เป็นผู้รับสารที่เฉยๆ ไม่กระตือรือร้นในการรับสารมักจะไม่สื่อสารกลับไม่ลงมือทำ ตามที่ผู้ส่งสารเสนอ 3.แบ่งตามการเป็นกลุ่มเป้าหมาย มี 2 ประเภท คือ 3.1.ผู้รับสารทั่วไป (General audience) หมายถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ผู้ส่งสารไม่ได้กำหนดลักษณะเฉพาะ ที่ต้องการให้เป็นผู้รับสาร 3.2.ผู้รับสารเป้าหมาย(Target audience) หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่ผู้ส่งสารกำหนดลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น อายุ ไลฟ์สไตล์ ที่ต้องการให้รับสาร
ความหมาย:บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับสารจากผู้ส่งสาร เป็นจุดหมายปลายทางของการสื่อสารเมื่อได้รับสารผู้รับสารจะตีความและตอบสนองจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และส่งปฏิกิริยาตอบสนอง (feedback) กลับไปให้ผู้ส่งสาร มีค าศัพท์ที่ใช้เรียกผู้รับสารต่าง ๆ กันหลายอย่าง ตามช่องทางหรือสื่อที่ใช้ เช่นผู้ชม(Audience) ผู้ฟัง(Listener)ผู้อ่าน(Reader) หรือ ผู้ถอดรหัส(Decoder)ซึ่งหมายถึงผู้รับสารที่ทำหน้าที่ตีความหมายให้ผู้รับสารปลายทางเข้าใจ
ผู้ส่งสารมีบทบาทในกระบวนการสื่อสาร 2ลักษณะ คือ 1.บทบาทในฐานะที่เป็นแหล่งสาร (Source)หรือ 2.บทบาทที่เป็นผู้ส่งสาร (Sender) หรือ ผู้เข้ารหัส (Encoder)
ความหมาย:บุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ที่เป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการสื่อสาร โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้ส่งสารอาจเป็นแหล่งสาร (Source) ที่ต้องการส่งสารไปยังผู้รับตามความต้องการของตนเองหรือ ทำหน้าที่ผู้ส่งสาร (Sender) จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นแหล่งสารต้นทาง ผู้ส่งสารมีบทบาทในการชี้นำว่าการสื่อสารในสถานการณ์หนึ่งๆนั้นจะเป็นไปในรูปใด