MindMap Gallery ภาษาเเละการสื่อสาร
ภาษาเเละการสื่อสาร สภาพปัญหาการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจําวัน คุณสามารถสร้างแผนที่ความคิดของคุณเองได้อย่างง่ายดายด้วย EdrawMind
Edited at 2022-02-10 15:29:02ภาษากับการสื่อสาร
สภาพปัญหาการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจําวัน
สภาพปัญหาด้านการฟัง
-ผู้ฟัง ฟังไม่รู้เรื่องเพราะไม่สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้
-ผู้ฟังขาดความตั้งใจในการฟัง
-ผู้ฟังขาดการฝึกฝนด้านการฟัง
สภาพปัญหาด้านการพูด
ผู้พูดออกเสียง ร ล และควบกล้ำไม่ชัดเจน
ผู้พูดใช้ถ้อยคำผิด ระดับของภาษาไม่ถูกต้องตามกาลเทศะหรือบุคคล
ผู้พูดขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
สภาพปัญหาด้านการอ่าน
สาเหตูที่ทำให้เกิดปํญหาด้านการอ่าน
ไม่ชอบอ่านหนังสือ
ไม่รักการอ่าน
ขาดวิจารณญาณในการอ่าน
สภาพปํญหาด้านการอ่าน
ผู้อ่านออกเสียงคำที่อ่านไม่ถูกต้อง เพราะเคยชินหรือจำมาผิดๆ
ผู้อ่านขาดความรู้ในการอ่าน
ผู้อ่านเว้นวรรคตอนไม่ถูก
ผู้อ่านจับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้
สภาพปัญหาด้านการเขียน
ผู้เขียนสะกดคำผิด เป็นเพราะความเคยชิน
ผู้เขียนเว้นวรรคตอนผิด
ผู้เขียนใช้คำ สำนวน ภาษาเเละประโยคไม่ถูกต้อง
ผู้เขียนขาดทักษะในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการสื่อสาร
ความสัมพันธ์ด้านความหมาย
ความหมายซึ่งเกิดในกระบวนการใช้ภาษากับการสื่อสารคือความพยายามที่จะเข้าถึงเนื้อเเท้ของภาษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ตรงกัน ความสัมพันธ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความหมายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้ภาษาและผู้ทำการสื่อสารต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะหากสามารถใช้สารหรือข้อความที่มีความหมายสื่อไปยังอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับรู้สารได้อย่างถูกต้องชัดเจน ก็จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์l
เพื่อให้ความรู้เเละข้อมูลข่าวสาร
เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
เพื่อให้เกิดการติดต่อประสานงานเเละสร้างสรรค์งานร่วมกัน
ความสัมพันธ์ด้านบทบาทเเละหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจึงควรศึกษาความสัมพันธ์ในด้านบทบาทเเละหน้าที่
บทบาทเเละหน้าที่ของผู้ส่งสาร
มีความรู้เกี่ยวกับสารหรือเนื้อหาที่ตนต้องการจะสื่อไปยังผู้รับสารและรู้จักเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายของเนื้อหาเเละมีเจตนาที่เเน่ชัดที่จะให้ผู้รับสารได้รับทราบเรื่องราวของตน
คำนึงถึงความสามารถเเละความพร้อมในการรับรู้สารของผู้รับสารที่ตนต้องการจะสื่อสารด้วย
บทบาทเเละหน้าที่ของผู้รับสาร
มีความสามารถในการกำหนดรู้ความหมายของสารหรือเรื่องราวต่างๆที่ผู้ส่งสารติดต่อมาถึงตนได้อย่างถูกต้อง
มีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาและกระตือรือร้นที่จะแสดงปฏิกิริยาสนองตอบต่อสาร
อุปสรรคของการสื่อสารเเละเเนวทางการเเก้ไข
อุปสรรคด้านการสื่อสาร
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร : ถ้าผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอต่อการสื่อสารเเล้ว การสื่อสารย่อมขาดประสิทธิผล ผู้ส่งสารที่ดีจึงต้องมีความพร้อมต่อการสื่อสาร
2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร : คุณภาพเเละปริมาณของสารลักษณะความเหมาะสมเเละความต่อเนื่องของเนื้อหาสาร ความหมายของสารที่เเตกต่างกัน สารที่ขัดต่อความคิดความเชื่อเเละค่านิยม
3.อุปสรรคที่เกิดจากช่องทางการสื่อสาร :การใช้ช่องทางการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม อุปสรรคที่เกิดจากสภาพเเวดล้อมหรือสถานการณ์ในขณะที่ทำการสื่อสารไม่ดี
4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร : เนื่องมาจากการเลือกในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเปิดรับ การเลือกให้ความสนใจ การเลือกรับรู้เเละการตีความและการเลือกจำ
เเนวทางเเก้ไข
1.การเเก้ไขที่ผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้
ทักษะในการสื่อสาร
ทัศนคติในการสื่อสาร
ความเข้าใจในสถานภาพของระบบสังคมเเละวัฒนธรรม
2.การเเก้ไขที่สาร ผู้ส่งสารที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้
สารนั้นจะต้องมุ่งถึงผู้รับสารและได้รับความสนใจจากผู้รับสาร
สารต้องมีสัญลักษณ์ที่เเสดงถึงความเหมือนกันของผู้ส่งสารเเละผู้รับสาร
3.การเเก้ไขที่สื่อหรือช่องทาง ช่องทางการสื่อสารที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้
ความเหมาะสมของสื่อกับผู้ส่งสาร ,ความเหมาะสมของสื่อกับเนื้อหา
4. การเเก้ไขที่ผู้รับสาร ผู้รับสารที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้
ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติในการสื่อสาร ระดับความรู้
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
1.เพื่อเเจ้งให้ทราบ 2.เพื่อสอนรือให้การศึกษา 3.เพื่อสร้างความพอใจหรือความบันเทิง 4.เพื่อเสนอหรือชักจูง
2.วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
1.เพื่อทราบ 2.เพื่อเรียนรู้ 3.เพื่อหาความพอใจ 4.เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ
ประเภทของการสื่อสาร
การจำเเนกของการสื่อสารโดยใช้เกณฑ์ในการจำเเนกที่สำคัญ 5 เกณฑ์
1.เส้นทางการไหลของข่าวสาร เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication)คือ การสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว
2.การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) คือการที่มีการขนส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับ
2.จำนวนของผู้ทำการสื่อสาร แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
1.การสื่อสารภายในบุคคล (Intrapersonal Communication)เป็นการสื่อสารของบุคคลเดียว เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคล ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารเเละผู้รับสาร
2.การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal Communication) ประกอบด้วยตั้งเเต่บุคคล 2 คนขึ้นไป ทำการสื่อสารที่ผู้รับสารเเละผู้ส่งสารสามารถเเลกเปลี่ยนกันได้โดยตรงและเป็นการสื่อสารเเบบตัวต่อตัว
3.การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) เป็นการสื่อสารที่ประกอบด้วยคนจำนวนมาก ซึ่งมารวมอญู่ที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
4.การสื่อสารในองค์การ (Organizational Communication) ระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกองค์การหรือหน่วยงานที่เป็นทางการ
5.การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)เป็นการสื่อสารที่ถ่ายทอดความรู้ข่าวสารโดยสื่อมวลชน (Mass media)ไปยังผู้รับที่มีจำนวนมาก
3.ภาษาหรือสัญลักษณ์เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (Verbal Language Communication)หมายถึงการสื่อสารโดยใช้ภาษาพูด หรือภาษาเขียนในการสื่อสาร
2.การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา(Non-Verbal Language Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสหรือสัญลักษณ์อย่างอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาพูดหรือภาษาเขียนในการสื่อสาร
4.การเห็นหน้ากัน เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การสื่อสารเเบบเฉพาะหน้า (Face-to-face Communication) การสื่อสารที่ผู้ส่งสารเเละผู้รับสารสามารถเห็นหน้าซึ่งกันเเละกันได้
2.การสื่อสารเเบบมีสิ่งสกัดกั้น(Interposed Communication)การสื่อสารที่ผู้ส่งสารเเละผู้รับสารไม่สามารภเห็นหน้ากันได้เพราะอยู่ไกล ต่างสถานที่กัน
5.ความเเตกต่างระหว่างผู้ส่งสารเเละผู้รับสาร เเบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.การสื่อสารระหว่างเชื่อชาติ (Interracial Communication) 2.การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Cross-cultural or Intercultural Communication)3.การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสารคือ ส่วนที่นำมาประกอบกัน เพื่อทำให้เกิดการสื่อสาร หากขาดองค์ประกอบใดประกอบหนึ่ง เเล้วจะทำให้การสื่อสารนั้นไม่สมบูรณ์ การสื่อสารมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.ผู้ส่งสาร (Sender)คือบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นผู้สร้างเเละถ่ายทอดสารต่างๆไปยังผู้รับด้วยวิธีการพูด การเขียน การใช้กริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
2.สาร(Message)เรื่องราวหรือข้อความที่ผู้ส่งสารต้องการถ่ายทอดให้ผู้รับสารได้รับรู้
3.สื่อหรื่อช่องทางส่งสาร (Channel or Medium )หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่นำสารไปยังผู้รับสาร
4.ผู้รับสาร(Receiver)คือบุคคลที่เป็นจุดหมายปลายทางในกระบวนการสื่อสาร ผู้รับสารอาจเป็นคนเดียวหรือหมู่คณะก็ได้ มีบทบาทกำหนดรู้ความหมายตามเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งผ่านสื่อมาถึงตน
5.ปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback)คือการเปลี่ยนเเปลงท่าทีเเละพฤติกรรมของผู้รับสาร เมื่อได้รับสารนั้น ว่าพฃพอใจหรือไม่พอใจ เช่นการยิ้ม
ความหมายเเละความสำคํญของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Communication ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า Communis หมายถึง ร่วมกัน
การสื่อสารหมายถึง กระบวนการของการติดต่อกัน โดยมีผู้ส่ง(Source) ฝ่ายหนึ่งส่งสาร(Message) ผ่านสื่อหรือช่องทาง (Chanel) ไปยังผู้รับ (Receiver)
ความสำคัญของการสื่อสาร สำหรับบุคคลและสังคม 5 ประการ
1.ความสำคํญต่อความเป็นสังคม 2.ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน 3.ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเเละธุรกิจ 4.ความสำคัญต่อการปกครอง 5.ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ
ความหมายเเละความสำคัญของภาษา
ความหมายของภาษา
คำว่า "ภาษา"มาจากคำในภาษาสันสกฤต ส่วนในภาษาบาลีใช้คำว่า "ภาสาซึ่งเเปลว่า พูด กล่าว หรือบอก ภาษา หมายถึง เครื่องมือหรือระบบการใช้สัญลักษณื อาจเป็นเสียงหรือกิริยาอาการ ที่ใช้สื่อความหมาย ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นหรือสร้าขึ้น และมีการถ่ายทอด 2.ภาษาเป็นสมบัติของสังคม 3.ภาษาเป็นสื่อ หรือเป็นเครื่องมือใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร 4.ภาษาเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์ 5.ภาษาเป็นทั้งศาสตร์เเละศิลป์ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์และมีความงดงามด้านเสียงเเละความหมายอยู่ในตัวของภาษา