MindMap Gallery จิตวิทยา(Psychology)
จิตวิทยา(Psychology)การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ
Edited at 2021-07-05 07:11:26จิตวิทยา(Psychology)การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ
1. กลุ่มโครงสร้างทางจิต
ผู้นำกลุ่ม
วิลเฮล์ม วุ้นท์ (wilhelm wundt) เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง
แนวคิดสำคัญ
1.การสัมผัส (Sensation) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมาสัมผัสประสาทสัมผัสทั้ง5
2.ความรู้สึก (Feeling) เป็นสิ่งที่เกิดจากการมีประสบการณ์ต่างๆ
3.มโนภาพ (Images) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา เป็นภาพที่เรานึกคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างไร
วิธีการ
การสังเกตุภายใน (lntrospection) เป็นการมองตนเองโดยมองจิตของตนเองให้บรรยายประสบการณ์ที่ตนเองได้สัมผัส รู้สึก และภาพในความคิดของตนเอง
2. กลุ่มหน้าที่จิต
ผู้นำกลุ่ม
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) และ วิลเลี่ยม เจมส์ (William James)
แนวคิดสำคัญ
ดิวอี้ : ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้เกิดจากการกระทำ (Learning by doing)
เจมส์ : มนุษย์ปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม อาศัยหน้าที่จิตซึ่งเรียกว่า จิตสำนึก
วิธีการ
การสังเกตุ (Observation)
1.ศึกษาการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ และบันทึก
2.การแสดงออกเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ ดังนั้นพฤติกรรมของคนเราจึงแตกต่างกันออกไป
3. กลุ่มจิตวิเคราะห์
ผู้นำกลุ่ม
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
แนวคิดสำคัญ
ระดับของจิตมี 3 ระดับ
1.จิตสำนึก เป็นการกระทำที่เรารู้ตัวและคนอื่นก็รู้
2.จิตกึ่งสำนึก เป็นสิ่งที่เราคิดและพร้อมที่จะทำ
3.จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่อยู่ลึกภายในจิตใจ จะแสดงออกเมื่อถึงภาวะคับขันหรือแสดงออกโดยไม่รู้ตัว
โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วย
1.อิด (ld) หลักแห่งความพึงพอใจ สัญชาตญาณ ความต้องการ อยากมี อยากได้ อยากเป็น
2.อีโก้ (Ego) หลักแห่งความจริง จิตที่รู้ตัว ใช้เหตุผล ควบคุมพฤติกรรมให้เหมาะสม ทำในสิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น กฎหมาย กฎจราจร
3.ซุปเปอร์อีโก้ (Spuer-Ego) หลักแห่งคุณธรรม
วิธีการ
การเชื่องโยงเสรี โดยให้บุคคลได้ระบายความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ ออกมาตามที่เขาอยากจะพูด อยากจะเล่าอย่างสบายใจตามที่จะนึกได้
4. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ผู้นำกลุ่ม
จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) บิดาแห่งพฤติกรรมนิยม อีวาน พาฟลอฟ (lvan P. Pavlov) และ สกินเนอร์ (Burrhur F. Skinner)
แนวคิดสำคัญ
วัตสัน : มีชื่อเสียงในการรักษาโรคโฟเบีย ทดลองกับเด็กให้เกิดความกลัว และรักษาให้หายจากการกลัวได้
พาฟลอฟ : ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นการตอบสนองปฏิกิริยาสะท้อนต่ออินทรีย์ต่อสิ่งเร้า ทดลองการวางเงื่อนไขให้สุนัขเกิดน้ำลายไหลออกมาเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
สกินเนอร์ : ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เมื่อลงมือกระทำจึงจะได้สิ่งตอบแทน รางวัล ทดลองวางเงื่อนไข กับหนูและนกพิราบกดคานแล้วได้อาหาร
สรุปแนวคิดกลุ่มนี้
พฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ ถ้ารู้สาเหตุเราก็สามารถควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
5. กลุ่มเกสตัลท์
ผู้นำกลุ่ม
แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์ (Max Wertheimer) เคอร์ท คอฟกา (Kurt Koffka) เคอร์ท เลวิน (Kurt Lewin)
แนวคิดสำคัญ
ศึกษาภาพรวมก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย โดยการเรียนรู้เป็นกระบวนการรับรู้และการแปลความหมายของสถานการณ์ทั้งหมด เป็นภาพรวม และการรับรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนบุคคล
วิธีการ
การแปลความหมายของการรับรู้ และการหยั่งเห็น
6. กลุ่มมนุษนิยม
ผู้นำกลุ่ม
คาร์ลโรเจอร์ส(Carl Rogers) (Carl Rogers) และอับราฮัมมาสโลว์ (Abraham Maslow)
แนวคิดสำคัญ
ให้ความสาคัญของความเป็นมนุษย์ มองมนุษย์ในท่าทีที่ดีงามว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์และล้วนอยากเป็นคนดีได้ด้วยตนเอง จึงไม่จาเป็นต้องใช้วิธีการบังคับหรือควบคุมใด เพราะในที่สุดมนุษย์จะทาสิ่งที่ดีด้วยตนเอง โดยเป้าหมายที่สาคัญของมนุษย์คือการพัฒนาศักยภาพของตนให้ถึงจุดสูงสุด รู้คุณค่าแห่งตน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ควบคุมตนเองได้ และมุ่งใช้ศักยภาพของตนเพื่อสร้างสรรค์ความมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของตน
วิธีการ
ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตนเอง
7. กลุ่มปัญญาสังคม
ผู้นากลุ่ม
อัลเบิร์ตแบนดูรา (Albert Bandura)
แนวคิดสาคัญ
กระบวนการทางสมองเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการรับรู้ การจา การเรียนรู้ เน้นที่กระบวนการคิดและวิธีการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ การกากับตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง
วิธีการ
การสังเกต การกากับตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง